สัมภาษณ์คนเก่ง น้องชนกนันท์ บุญญาอารยะวงศ์
สวัสดีครับ เพื่อนสมาชิก Anone club และผู้สนใจภาษาญี่ปุ่นทุกท่าน ครั้งนี้เราจะพาทุกท่านมาพบคนเก่งของเราอีกคนหนึ่ง น้องคนเก่งของเราเป็นสาวเมืองรถม้า อยู่ทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย สินค้าที่ขึ้นชื่อของจังหวัดนี้ก็คือเครื่องปั้นดินเผา ใช่แล้วครับ คนเก่งของเราเป็นสาวเมืองลำปาง หรือเมืองเขลางค์นคร หรือเวียงละกอน ก็เป็นเกร็ดเล็กน้อยที่เสริมเข้ามาเพื่อทำความรู้จักบ้านคนเก่งของเราในวันนี้นะครับ ว่าแต่ว่า คำว่าไม่ลองไม่รู้ที่น้องคนเก่งของเราใช้ในการเข้าประกวดจะเป็นอย่างไร เราลองมาติดตามดูกันนะครับ แต่ก่อนจะนำทุกท่านไปพบกับบทสุนทรพจน์ที่น้องคนเก่งนำเข้าประกวด เราลองมาติดตามและทำความรู้จักน้องให้มากขึ้นผ่านบทสัมภาษณ์สั้นๆ กันดีกว่านะครับ พร้อมแล้ว ตามนายกังวานไปพูดคุยและทำความรู้จักกับน้องคนเก่งคนนี้กันครับ sa ikimasho!
นายกังวาน : moshi moshi ! สวัสดีครับน้องคนเก่ง นายกังวานจาก Anone club ครับ แนะนำตัวครับ
น้องแก้มบุ๋ม : สวัสดีค่ะ ชื่อนางสาวชนกนันท์ บุญญาอารยะวงศ์ค่ะ LineID: nbcloud ชื่อเล่นชื่อแก้มบุ๋มค่ะ
นายกังวาน : สวัสดีครับ ขอทราบว่าน้องแก้มบุ๋มตอนนี้เรียนระดับไหน ที่ใด สาขาใดครับ
น้องแก้มบุ๋ม : ยินดีค่ะ ตอนนี้กำลังศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ค่ะ
นายกังวาน : ทำไมถึงสนใจภาษาญี่ปุ่นครับ ลองเล่าให้เพื่อนฟังได้ไหมครับ
น้องแก้มบุ๋ม: ที่เริ่มศึกษาภาษาญี่ปุ่นเพราะว่า ชื่นชอบตัวอักษรของญี่ปุ่นจึงสอบเข้าเรียนภาษาญี่ปุ่นตอนมัธยมปลาย แต่จบมัธยมปลายก็ไม่ได้เรียนต่อด้านภาษา ทิ้งภาษาไปพักใหญ่ พอหลังจากนั้นก็กลับมาสนใจอีกครั้ง ทั้งด้านภาษา วัฒนธรรม การท่องเที่ยว อาหารของญี่ปุ่น โดยเฉพาะเรื่องงานฝีมือเป็นเรื่องที่สนใจมากค่ะ เมื่อตอนที่ซื้อหนังสืองานฝีมือของญี่ปุ่นมา แล้วอ่านไม่ออก ก็เลยอยากกลับมาเรียนภาษาญี่ปุ่นอีกครั้งค่ะ 🙂
นายกังวาน : สนใจหนังสืองานฝีมือหรือครับ เยี่ยมเลย เป็นจุดสนใจที่ไม่เหมือนใครนะ 555 ว่าแต่มีวิธีเรียนภาษาญี่ปุ่นอย่างไร และเป็นอย่างไรครับ
น้องแก้มบุ๋ม : ในเรื่องของการเรียน การเรียนภาษาญี่ปุ่นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากสำหรับหนูมากค่ะ โดยเฉพาะไวยากรณ์ หนูจึงต้องมีสมุดไว้จดสรุปเนื้อหา ไว้จดคำศัพท์ เอาไว้ท่องอยู่เสมอค่ะ (แต่บางครั้งก็จำไม่ค่อยได้) ส่วนไวยากรณ์ ถ้าไม่เข้าใจก็จะกลับไปถามครูอีกทีค่ะ และบางครั้งก็จะดูรายการญี่ปุ่นเพื่อฝึกพัฒนาทักษะการฟังบ้างค่ะ
นายกังวาน : Nihongo wa muzukashii ne! demo omoshiroi desu. จริงนะครับ แต่มันก็น่าสนใจไม่ใช่หรือว่าใครเป็นผู้แนะนำให้น้องแก้มบุ๋มเข้าประกวดครับ
>น้องแก้มบุ๋ม : การมาประกวดในครั้งนี้ เนื่องจากอาจารย์ชวนค่ะ ก็เลยตัดสินใจลองทำดู เพราะไม่เคยทำมาก่อน ก่อนจะมาประกวดรอบนี้ หนูเคยส่งเรื่องเข้าประกวดรอบภาคเหนือมาก่อนค่ะ แต่ไม่ผ่านเข้ารอบ จึงปรับปรุงเนื้อเรื่องให้ดีขึ้น จนผ่านเข้ารอบดีใจมากค่ะ
นายกังวาน : wakarimashita! เข้าใจแล้วครับ ขอบคุณนะครับ สุดท้ายนี้มีอะไรจะฝากถึงเพื่อนๆ ไหมครับ
>น้องแก้มบุ๋ม : ขอขอบคุณทุกกำลังใจและทุกท่านที่มีส่วนรวมทำให้ประสบความสำเร็จในวันนี้นะคะ อย่างไรแล้วขอเป็นกำลังใจให้เพื่อนๆ ทุกคนประสบความสำเร็จนะคะ สุดท้ายนี้ อยากจะบอกทุกท่านว่า การที่เราได้ทำสิ่งที่เราชอบ จะสามารถทำให้เราทำมันออกมาได้ดีที่สุดค่ะ
นายกังวาน : เยี่ยมครับ ว่าแต่ทำไมถึงเลือกหัวข้อนี้เข้าประกวดครับ
น้องแก้มบุ๋ม: หัวข้อเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เอาไว้เตือนสติตัวเองได้ตลอดเลยค่ะ เพราะหนูได้เรียนรู้อะไรหลายๆ อย่าง จากประสบการณ์ที่เคยผิดหวังมามากมายค่ะ มันทำให้เรากล้าที่จะทำในสิ่งที่เราต้องการอย่างแท้จริงค่ะ และก็อยากบอกคนอื่นด้วยว่า คนเราต้องมีความพยายามที่จะเลือกทำในสิ่งที่ตัวเองรัก เลือกที่จะคุยกับตัวเองว่าลึกๆ แล้วเราต้องการอะไร ไม่อยากให้คนอื่นฝืนอยู่กับสิ่งที่ไม่ใช่ตัวเองค่ะ
นายกังวาน : เป็นธรรมชาติดีนะครับ การที่เราได้ทำในสิ่งที่เรารัก เราชอบ ย่อมมีความสุขกับการทำ และจะสามารถทำได้ดีนะครับ พี่ยืนยัน แล้วน้องแก้มบุ๋มคิดว่าสิ่งที่ได้จากการเรียนภาษาญี่ปุ่น เป็นอย่างไรบ้างครับ
น้องแก้มบุ๋ม: สิ่งที่ได้จากการเรียนภาษาญี่ปุ่นหรือคะ การเรียนภาษาญี่ปุ่นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากและลึกซึ้ง ถ้าเราไม่พยายาม ไม่หมั่นฝึกฝนเราก็จะไม่เข้าใจค่ะ เพราะฉะนั้น การเรียนภาษาญี่ปุ่นสอนให้หนูพยายามค่ะ เพราะหนูเป็นคนไม่เก่ง พอเราเห็นคนเก่งๆ เขาพูดคล่อง เขาจำศัพท์ได้ดี เขาอธิบายไวยากรณ์ให้เราฟังได้อย่างเข้าใจ เราก็อยากทำได้อย่างเขา ก็เลยต้องพยายามมากๆ ค่ะ
นายกังวาน : เป็นวิธีการกระตุ้นให้เราสู้ และพยายามต่อไปนะครับ เป็นแนวคิดที่ดีเลยครับ สุดท้ายนี้มีอะไรที่จะฝากเพื่อนๆ ไหมครับ
น้องแก้มบุ๋ม: อยากให้ผู้ที่กำลังสนใจที่คิดอยากจะประกวดสุนทรพจน์ค่ะ ว่ามันไม่ยากอย่างที่เราคิดค่ะ เพียงแค่เราตั้งใจ และทำด้วยใจจริงๆ สุนทรพจน์ก็เหมือนการบอกเล่าเรื่องบางอย่าง แค่พูดออกมาจากใจ ยังไงคนก็ฟังเราค่ะ ขอบคุณค่ะ
นายกังวาน : ขอบคุณสำหรับคำแนะนำที่ดีนะครับ หวังว่าเพื่อนๆ ที่ได้อ่านบทสัมภาษณ์แล้ว จะได้มีกำลังใจในการเรียนภาษาญี่ปุ่น และลองนำเทคนิคดีๆ ไปปรับใช้ให้เหมาะกับตนเองตามอัธยาศัยนะครับ ไม่แน่นะ น้องอาจเป็นคนเก่งในอนาคตที่นายกังวานจะตามไปสัมภาษณ์และนำมาเผยแพร่เช่นน้องคนเก่งสำหรับวันนี้นะครับ อย่างไรแล้วต้องขอขอบคุณน้องแก้มที่สละเวลาอันมีค่ามาพูดคุยและให้คำแนะนำแก่เพื่อนๆ นะครับ ลองอ่านดูครับว่า ไม่ลองไม่รู้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร ถ้าไม่ลองแล้วจะไม่รู้ที่น้องแก้มบุ๋มนำเสนอจะเป็นอะไร แล้วติดตามนายกังวานในครั้งต่อไปนะครับ ขอบคุณและสวัสดีครับ ganbatte ne !
div>น้องแก้มบุ๋ม: ขอบคุณและสวัสดีค่ะ
…………………………………………………………………………………………………………………
3度目(さんどめ)の正直(しょうじき)
チャノックナン・ブンヤーアーラヤウォン
もし、今(いま)勉強(べんきょう)していることが自分(じぶん)らしくないとわかったら、どうしますか。1、せっかく投資(とうし)した時間(じかん)やお金(かね)がもったいないので続(つづ)ける。2、素直(すなお)に自分(じぶん)の気持(きも)ちをみとめて、人生(じんせい)をやり直(なお)す。みなさんは、どちらのタイプですか。
多(おお)くの人(ひと)は普通(ふつう)、大学(だいがく)一年生(いちねんせい)は一度(いちど)しか経験(けいけん)しないでしょう。でも、私(わたし)は、高校時代(こうこうじだい)の同級生(どうきゅうせい)が大学(だいがく)を卒業(そつぎょう)した年(とし)に3回目(さんかいめ)の入学(にゅうがく)をしました。つまり、大学(だいがく)を2回(にかい)も辞(や)めているのです。一回目(いっかいめ)は、浮世絵(うきよえ)が好(す)きで、チェンマイ大学(だいがく)美術学部(びじゅつがくぶ)に進学(しんがく)しました。でも、ここで、自分(じぶん)には美術(びじゅつ)の才能(さいのう)はなく、ただ好(す)きなだけで、自分(じぶん)の能力(のうりょく)は美術家(びじゅつか)として稼(かせ)げるレベルではないと実感(じっかん)しました。それに、当時(とうじ)、父(ちち)が仕事(しごと)を失(うしな)ったこともあり、4年間(よねんかん)の大学(だいがく)を辞(や)めて、2年間(にねんかん)の短期大学(たんきだいがく)に通(かよ)った方(ほう)がいいと判断(はんだん)しました。
そして次(つぎ)は、将来(しょうらい)絶対(ぜったい)に役(やく)に立(た)つであろうことを選択(せんたく)しました。それは、調理師(ちょうりし)のコースでした。今回(こんかい)は家族(かぞく)のため、好(す)きでもきらいでもなく、将来(しょうらい)、絶対(ぜったい)仕事(しごと)があることを選(えら)びました。最初(さいしょ)は、調理実習(ちょうりじっしゅう)がメインだと思(おも)い、期待(きたい)していましたが、実際(じっさい)は、料理(りょうり)の理論(りろん)の授業(じゅぎょう)ばかりでした。このままでは絶対(ぜったい)に上手(じょうず)にならないと思(おも)いました。でも、今回(こんかい)は簡単(かんたん)に辞(や)めるわけにはいかないし、負(ま)け犬(いぬ)だと思(おも)われたくないと思(おも)い、もう一度(いちど)勉強(べんきょう)にぶつかってみました。一学期(いちがっき)の成績(せいせき)はクラスで一番(いちばん)でした。でも、なんだか、あまりうれしくなかったです。そのことを父(ちち)に話(はな)したら、それは、自分(じぶん)らしくないことやってるからじゃない?と言(い)われました。そうかもしれないと目(め)が覚(さ)めました。
そして私(わたし)は、日本語(にほんご)を専攻(せんこう)していた高校時代(こうこうじだい)、毎日(まいにち)の勉強(べんきょう)が楽(たの)しくてしょうがなかったことを思(おも)い出(だ)しました。大好(だいす)きな日本語(にほんご)の先生(せんせい)が学校(がっこう)を辞(や)めたことで、日本語(にほんご)への興味(きょうみ)を失(うしな)っていましたが、「調理師(ちょうりし)の勉強(べんきょう)は自分(じぶん)に向(む)いていないし、このままだと、将来(しょうらい)役(やく)に立(た)たないし、時間(じかん)を無駄(むだ)にするだけ。日本語(にほんご)をもう一度(いちど)勉強(べんきょう)しよう」と決(き)めました。そこで、22歳(にじゅうにさい)でチェンマイラチャパット大学(だいがく)の日本語学科(にほんごがっか)に入学(にゅうがく)して、人生(じんせい)をやり直(なお)しました。今(いま)、私(わたし)は日本語(にほんご)を勉強(べんきょう)して、わからない文法(ぶんぽう)や漢字(かんじ)を調(しら)べるのが大変(たいへん)楽(たの)しいです。わからないことがわかるようになったのはうれしくて、毎日(まいにち)イキイキしています。それは、今(いま)勉強(べんきょう)していることは自分(じぶん)らしいからです。自分(じぶん)が選(えら)んだ道(みち)は2回(にかい)も失敗(しっぱい)しましたが、3回目(さんかいめ)こそやっと自分(じぶん)と合(あ)うものがみつかりました。今(いま)私(わたし)がここでスピーチしているのも、勇気(ゆうき)を出(だ)してチャレンジし続(つづ)けているからこそです。
「人生(じんせい)をやり直(なお)したいけど、時間(じかん)がもったいない。新(あたら)しいことにチャレンジするのが怖(こわ)い。周(まわ)りの視線(しせん)が気(き)になって勇気(ゆうき)がない。」と考(かんが)える人(ひと)もいるでしょう。しかし、人生(じんせい)はそんなに長(なが)くはありません。好(す)きでもないことに時間(じかん)をかけられるなら、その時間(じかん)を自分(じぶん)が向(む)いていることを探(さが)すのに使(つか)ってみたらどうでしょうか。人生(じんせい)は何度(なんど)でもやり直(なお)すことができます。本当(ほんとう)の自分(じぶん)の道(みち)を見(み)つけて、歩(あゆ)んでいくことが人間(にんげん)らしいと私(わたし)は、思(おも)います。
日本(にほん)には「3度目(さんども)の正直(しょうじき)」ということわざがあります。私(わたし)の人生(じんせい)を振(ふ)り返(かえ)るとそうだと思(おも)います。3回(さんかい)までやってみないと結果(けっか)がわからないこともあります。みなさん3回(さんかい)までやってみませんか。
ไม่ลองไม่รู้
นางสาวชนกนันท์ บุญญาอารยะวงศ์/span>
คุณจะทำอย่างไรคะ ถ้าสิ่งที่คุณกำลังเรียนอยู่ตอนนี้ไม่ใช่สิ่งที่คุณต้องการ 1. ทนเรียนต่อไป เพราะว่าเสียดายที่อุตส่าห์ลงทุนทั้งเงินและเวลา 2. เชื่อมั่นในความรู้สึกของตัวเองและเริ่มต้นชีวิตใหม่ ถ้าเป็นคุณ จะเลือกทางเดินแบบไหนกันคะ
ชีวิตปกติของคนทั่วไปมักจะมีประสบการณ์การเป็นนักศึกษาปี 1 เพียงแค่ครั้งเดียว แต่สำหรับฉัน เมื่อเพื่อนสมัยมัธยมปลายเรียนจบมหาวิทยาลัยในขณะที่ฉันกำลังเข้าเรียนปี 1 ครั้งที่ 3 กล่าวคือ ฉันลาออกจากมหาวิทยาลัยถึง 2 ครั้ง ครั้งแรก ฉันเข้าศึกษาต่อที่คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพราะว่าชอบภาพพิมพ์ของญี่ปุ่นที่เรียกว่า อุคิโยเอะ แต่ว่า ถึงแม้ว่าจะชอบวาดรูป แต่ฉันกลับไม่มีพรสวรรค์ด้านศิลปะ และฉันก็รู้ตัวว่า ความสามารถของฉันไม่ใช่ระดับที่สามารถจะทำงานหาเลี้ยงครอบครัวในฐานะศิลปินได้ อีกทั้งในตอนนั้นพ่อก็ลาออกจากงานที่ทำอยู่ด้วย จึงตัดสินใจว่า ควรจะเลิกเรียนมหาวิทยาลัยที่เรียน 4 ปี แล้วหันมาเรียนมหาวิทยาลัยระยะสั้นที่เรียน 2 ปีจะดีกว่า
ต่อมา จึงคิดว่าจะเลือกเรียนในสิ่งที่นำไปประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคงในอนาคต ตัดสินใจเลือกเรียนด้านอาหาร เพราะคิดว่าทำเพื่อครอบครัว เพื่ออนาคต โดยไม่เกี่ยวกับความชอบไม่ชอบ ช่วงแรก คาดหวังว่าจะเป็นคาบเรียนที่ได้เรียนทำอาหารเป็นหลัก แต่กลับเป็นการเรียนแต่ทฤษฎีไม่ค่อยได้ปฏิบัติ จึงคิดว่า ถ้าปล่อยไว้แบบนี้ต่อไป คงจะไม่สามารถทำอาหารเก่งขึ้น แต่ครั้งนี้เลิกล้มไม่ได้ง่ายๆ อาจจะโดนคนอื่นหาว่าเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ จึงมุ่งหน้าตั้งใจเรียนต่ออีกครั้ง แต่ถึงแม้ว่าผลการเรียนจะได้เป็นอันดับ 1 กลับไม่ค่อยดีใจซักเท่าไหร่ พอได้ปรึกษาพ่อ พ่อบอกว่า สิ่งที่ทำอยู่ ไม่ใช่สิ่งที่ตัวเองอยากทำจริงๆ ใช่ไหม พอได้ยินแบบนั้น เลยคิดได้
ฉันนึกถึงเรื่องในตอนที่เรียนศิลป์ภาษาญี่ปุ่นตอนมัธยมปลาย ทุกวันที่ไปเรียน ฉันมีความสุขมาก แต่พอคุณครูสอนภาษาญี่ปุ่นที่ฉันรักลาออกไป จึงทำให้ความสนใจในภาษาญี่ปุ่นน้อยลง แต่การมุ่งหน้าเรียนทำอาหารต่อไป อาจทำให้ฉันหยุดอยู่กับที่ และทำให้เสียเวลา จึงตัดสินใจ กลับมาเรียนภาษาญี่ปุ่นอีกครั้ง ตอนนั้น ฉันเริ่มต้นชีวิตใหม่ ด้วยการเข้าศึกษาในสาขาภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ตอนฉันอายุ 22 ปี สำหรับฉันในตอนนี้ การที่ได้ตรวจเช็คไวยากรณ์หรือได้ค้นหาคันจิที่ไม่เข้าใจ เป็นเรื่องที่สนุกมากในการเรียนภาษาญี่ปุ่น พอได้เรียนรู้ในเรื่องที่ไม่เคยรู้ เป็นเรื่องที่น่าดีใจ ทุกวันฉันมีความสุขมาก ดังนั้น สิ่งที่เรียนอยู่ในตอนนี้เป็นสิ่งที่ฉันต้องการ คนเราสามารถเลือกหนทางที่ผิดหวังได้ 2 ครั้ง แต่เราจะหาหนทางที่ดีที่สุดพบในครั้งที่ 3 ดั่งตัวฉันในตอนนี้ที่กำลังกล่าวสุนทรพจน์อยู่ เป็นสิ่งที่กำลังท้าทายความกล้าของฉัน
หลายคนคิดว่าการเริ่มต้นใหม่เป็นเรื่องเสียเวลา การท้าทายอะไรใหม่ๆ เป็นเรื่องน่ากลัว ไม่กล้าทำเพราะเกรงสายตาคนรอบข้าง แต่ชีวิตคนเราไม่ได้มีเวลานานขนาดนั้น เรายังเสียเวลาให้กับสิ่งที่ไม่ชอบได้ แล้วทำไมเราจะเสียเวลาตามหาสิ่งที่เราอาจจะชอบไม่ได้ล่ะคะ ถ้าอย่างนั้น จะดูเหมือนว่าเราได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่เสียมากกว่า จงหาหนทางที่แท้จริงของตัวเอง และมุ่งหน้าเดินก้าวไปอย่างเป็นมนุษย์ ฉันคิดอย่างนั้น
ที่ญี่ปุ่น มีสุภาษิตที่ว่า 「3度目の正直」ทำให้นึกถึงตัวฉัน ที่พยายามถึง 3 ครั้ง จนเกิดผล แล้วทุกท่านล่ะคะ ไม่ลองมาพยายามจนถึง 3 ครั้งดูล่ะคะ
——————————————–